วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ปีที่: 1 ฉบับที่ 2

กรกฎาคม –ธันวาคม 2566

ดาวน์โหลด

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แพนครีเอติกไลเปส (Pancreatic Lipase Enzyme) ของสารสกัดกระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. ex. Baker; Krachaidum) โดยตรวจสอบปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay รวมถึงการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แพนครีเอติกไลเปส พบว่า สารสกัดกระชายดำ มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) เท่ากับ = 614.90 ± 2.30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเทียบกับสารมาตรฐานวิตามินซี (IC50 = 14.47 ± 0.33 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิก เท่ากับ 24.68 ± 7.34 มิลลิกรัมสมมูลกับกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด และมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 12.01 ± 0.74 มิลลิกรัมสมมูลกับเคอร์ซิตินต่อกรัมสารสกัด และจากผลการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส พบว่า สารสกัดกระชายดำ มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไลเปสที่ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) เท่ากับ 19.84 ± 0.69 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร หรือ 65.52 ± 0.24 ไมโครกรัมสมมูลกับออริสแตทต่อมิลลิกรัมสารสกัด ใกล้เคียงกับยาออริสแตท (Orlistat) มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไลเปสที่ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) เท่ากับ 1.3 ± 0.17 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลวิจัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดกระชายดำ น่าจะมีแนวโน้มในการป้องกันและรักษาโรคอ้วน และเป็นสมุนไพรไทยในท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันและรักษาโรคอ้วนในอนาคต

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนตำบลวังปลาป้อม อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนตำบลวังปลาป้อม อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือนในเขตพื้นที่ตำบลวังปลาป้อม อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 327 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลวังปลาป้อม อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยรวมระดับอยู่ในระดับปานกลาง ( x ̅ =2.94, S.D. =0.63 )เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลวังปลาป้อม ในด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนระดับปานกลาง ( x ̅ = 3.26, S.D. = 0.63) ด้านการดำเนินงานการจัดการมูลขยะฝอยในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ( x ̅ = 3.10, S.D. = 0.75) ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ( x ̅ = 3.10, S.D. = 0.75) และด้านการวางแผนแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนอยู่ในระดับน้อย ( x ̅ = 2.51, S.D. = 0.76)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมด้านความร้อนในการทำงานกับสภาวะสุขภาพร่างกายของบุคลากรในสำนักงานคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าว แบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ 1) การศึกษาสภาพแวดล้อมด้านความร้อนในการทำงาน ประกอบด้วย การศึกษาค่าดัชนีความร้อน (WBGT) และความชื้นสัมพัทธ์ (HM) ทำการตรวจวัด 2 บริเวณคือ ภายในสำนักงานและภายนอกอาคาร 2) การศึกษาสุขภาพร่างกายของบุคลการตัวอย่าง ประกอบด้วย อัตราการเต้นหัวใจ (HR) ความดันโลหิต และอุณหภูมิร่างกาย ผลการศึกษาพบว่า สำนักงานคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีค่าดัชนีความร้อนและอุณหภูมิภายนอกอาคารแตกต่างกันมาก จึงต้องเฝ้าระวังการออกจากสำนักงานไปนอกอาคารเนื่องจากร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิรวดเร็วจนทำให้เป็นลม หน้ามืดและปวดศีรษะ สำนักงานคณะวิทยาศาสตร์มีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงในฤดูฝน ส่งผลให้ร่างกายบุคลากรไม่สามารถระบายความร้อนได้ จึงต้องมีการระบายความชื้น เช่น การเปิดหน้าต่างและประตู สำหรับสำนักงานคณะเทคโนโลยี ในฤดูหนาวมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ส่งผลให้ร่างกายบุคลากรมีการสูญเสียน้ำได้ง่าย อาจส่งผลให้เกิดอาการขาดน้ำได้จึงต้องมีการส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำมากขึ้น

งานวิจัยนี้ศึกษาการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Staphylococcus epidermidis ด้วยวิธี agar disc diffusion จากน้้ามันหอมระเหยและสารสกัด ด้วยน้้าและเอทานอลของใบค้าแสด จากผลการทดลองพบว่าน้้ามันหอมระเหย ของใบค้าแสดสามารถ ยับยั้งเชื้อ E. coli, S. aureus และ S. epidermidis ได้โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งเชื้ออยู่ที่ 12 mm, 11 mm และ 12 mm ตามล้าดับ แม้ว่าประสิทธิภาพในการการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์จะต่้า กว่าเมื่อทดสอบด้วยยาปฏิชีวนะ 0.24 mg/ml tetracycline HCl ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของการ ยับยั้งเชื้ออยู่ที่ 21 mm, 19 mm และ 29 mm แต่ก็ยังถือว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้ง ในขณะที่ สารสกัดด้วยน้้าและเอทานอล ของใบค้าแสดไม่สามารถยับยั้งเชื้อ E. coli, S. aureus และ S. epidermidis ได้ จากการทดลองน้าน้้ามันหอมระเหยจากใบค้าแสดไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโคร มาโทกราฟี-แมสสเปกโตรมิเตอร์พบองค์ประกอบทางเคมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ เช่น borneol, caryophyllene, D-germacrene และ guaiol

อนุภาคนาโนแม่เหล็ก (Magnetic nanoparticles; MNPs) ถูกน ามาใช้กันอย่างแพร่หลายใน ด้านชีวการแพทย์ส าหรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษา เนื่องด้วยคุณสมบัติความเข้ากันได้ทาง ชีวภาพ ขนาด และคุณสมบัติการคายตัวของแม่เหล็ก อนุภาคนาโนแม่เหล็กได้รับการพัฒนาส าหรับ การตรวจหาภาวะไมโครอัลบูมินยูเรีย ยิ่งไปกว่านั้นภาวะไมโครอัลบูมินยูเรียเป็นปัจจัยที่บ่งชี้ถึงการ ลุกลามที่เร็วขึ้นของโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease; CKD) ดังนั้นการตรวจพบรอยโรคใน ระยะ เริ่มต้นอาจป้องกันการลุกลามของโรคไตเรื้อรังไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end-stage renal disease; ESRD) งานวิจัยฉบับนี้ได้มีการพัฒนาอนุภาคนาโนแม่เหล็ก เพื่อตรวจหาภาวะไม โครอัลบูมินยูเรีย และศึกษาลักษณะเฉพาะ การเตรียมผิว และการตรึงอนุภาคนาโนแม่เหล็กด้วยแอน ติบอดี้ (Anti-Human Serum Albumin; Anti-HSA) Anti-HSA ถูกท าให้ตึงบนอนุภาคนาโน แม่เหล็ก ด้วยอัตราส่วนที่แตกต่างกัน และท าการศึกษาลักษณะเฉพาะโดยเครื่องวัดสนามแม่เหล็กตัวอย่างแบบ สั่น (VSM), ฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FTIR), และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ ส่องกราด (SEM) จากผลการทดลองพบว่าแอนติบอดี้ที่อัตราส่วน 1:100 และ 1:1000 ติดอยู่บน พื้นผิวของอนุภาคนาโนแม่เหล็ก ดังนั้นอัตราส่วนที่ 1:1000 คือตัวอย่างที่ถูกเลือกเนื่องจากใช้ปริมาณ แอนติบอดีน้อยจึงสามารถลดต้นทุนในการทดลองได้ อนุภาคนาโนแม่เหล็กที่ติดกับแอนติบอดี้จะถูก น าไปใช้ส าหรับการตรวจจับภาวะไมโครอัลบูมินยูเรียโดยใช้หลักการ Micro-Nuclear Magnetic Resonance (micro-NMR)

Natural rubber (NR), which is non-polar rubber, was modified structurally by using graft polymerization. The modification of NR creates some functional groups for increasing the polarity of NR. Glycidyl methacrylate (GMA) is the vinyl monomer that is widely used to graft onto NR to obtain the polar material. Therefore, NR-g-GMA has also been used in various applications, such as main blend components and compatibilizers. In this work, the content of GMA in NR-g-GMA was varied at 1 wt%, 2.5 wt%, and 5 wt% by using K2S2O8/Na2S2O3 as an initiator using the ratio 1:0.6. The chemical structure and molecular weight of modified NR were investigated. It was found that FT-IR spectrum of NR-g-GMA exhibited an absorption peak at 910 cm-1 , which corresponds to the characteristic vibration of the epoxy group. GMA exhibited a strong absorption peak at 1716 cm-1 , which corresponds to the carbonyl group, and a peak at 1153 cm-1 , which was attributed to the C-O stretching of the ester group. The 1H-NMR spectra revealed the signals of methylenoxy protons in GMA at 3.8 ppm and the signal of epoxy group in GMA at 2.9 ppm. Moreover, Mn and Mw of NR-g-GMA showed the variation of molecular weight.

บทความนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อจ านวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระดับ จังหวัดของประเทศไทย ปี พ.ศ.2562 ผ่านตัวแบบถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อจ านวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นการศึกษาตัวแบบ ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Model) ซึ่งการวิเคราะห์ ตัวแบบถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ จะมีการ ปรับหรือแปลงข้อมูลให้เป็นหน่วยต่อหนึ่งแสนคน จากการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์ด้วยตัวแบบถดถอย เชิงเส้นพหุคูณ สามารถที่จะอธิบายจ านวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายต่อหนึ่งแสนคนระดับจังหวัด ปี พ.ศ. 2562 ได้ถึง 93.3 เปอร์เซ็นต์โดยมีค่า MSE ของตัวแบบเท่ากับ 56.65 และ RSME เท่ากับ 7.55 ดังนั้นข้อมูลที่ถูกแปลงหน่วยแล้วจึงเป็นการอธิบายตัวแปรตามโดยมีปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ ผู้ที่อยู่จังหวัด จันบุรี ผู้ที่อยู่จังหวัดตรัง จ านวนผู้ที่เป็นโรคจิตเภทต่อหนึ่งแสนคน จ านวนผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลต่อ หนึ่งแสนคน จ านวนผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ต่อหนึ่งแสนคน และจ านวนคู่ที่จดทะเบียนหย่าต่อหนึ่งแสนคน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการลดขนาดข้อมูลเพื่อจ าแนกความเสี่ยงการเกิด โ ร ค IDC-10 ก ลุ่ ม Circulatory โ ด ยใ ช้ วิ ธี Bootstrap Sampling แ ล ะ Synthetic Minority Oversampling Technique (SMOTE) จ า แ น ก ข้ อ มู ล ด้ ว ย วิ ธี Random Forest วิ ธี Gradient Boosting วิธี Deep Learning และวิธี Majority Vote Ensemble วัดประสิทธิภาพด้วยวิธี Area Under the ROC Curve (AUC) ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบเป็นข้อมูลของผู้ป่วย IDC-10 กลุ่ม Circulatory System โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุงโดยข้อมูล ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการ สกัดข้อมูลด้วยวิธี Forward Selection ผลการวิจัยพบว่า การลดขนาดข้อมูลสามารถน าไปใช้ในการ จ าแนกความเสี่ยงของ กลุ่มโรค Circulatory System ได้โดยมีประสิทธิภาพที่มีความแม่นย า เทียบเคียงกับข้อมูลที่ไม่ได้ถูกลดขนาดและลดเวลาในประมวลผลลงได้ นอกจากนี้ข้อมูลที่ผ่านการท า SMOTE และ Forward Selection ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแบบจ าลองให้สามารถเรียนรู้และ ท านายคลาสที่น้อยได้ดีขึ้น เหมาะสมที่จะน าแบบจ าลองไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเพื่อ สนับสนุนการวินิจฉัยของแพทย์ต่อไป